วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2552

กวาวเครือแดง








เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ กวาวเครือแดง
กวาวเครือแดง ( Butea superba ) เป็นกวาวเครือสำหรับบุรุษเพศ โดยมีสรรพคุณไปในด้านบำรุงร่างกาย และสุขภาพให้แข็งแรง เป็นสมุนไพรอายุวัฒนะ ส่งเสริมสมรรถนะทางเพศ
สรรพคุณกวาวเครือ ในตำราแพทย์แผนโบราณ ตำราแผนโบราณได้กล่าว ถึงสรรพคุณของกวาวเครือไว้ในด้านบำรุงร่างกาย โดยรวม ทั้งกวาวเครือขาวและแดงไว้อย่างเดียวกัน ดังนี้ " คนอ่อนเพลีย ผอมแห้ง แรงน้อย นอนไม่หลับ กินไม่ได้ กินยานี้ 20-30 วัน โรคอ่อนเพลียหายสิ้น นอนหลับสบาย เดินไปมาได้ตามปกติ กวาวเครือบำรุงโลหิต บำรุงสมอง บำรุงกำลัง ชายกินแล้วนมแตกพานแข็งเหมือนเด็กหนุ่ม มีกล้าม เนื้อหนังเต่งตึง ท่านห้ามเด็กหนุ่มสาวกิน ตำผงกินกับน้ำนมวัว หัวคิดสมองปลอดโปร่ง ทรงจำตำราโหราศาสตร์ได้ถึง 3 คัมภีร์ เนื้อหนังจะนิ่มนวลดุจเด็ก 6 ขวบ อายุจะยืนถึง 3,000 กว่าปี โรคาพยาธิจะไม่มาเบียดเบียนเลย รับประทานกับน้ำข้าวที่เช็ดไว้ให้เปรี้ยว จะมีเนื้อหนังนิ่มนวลดุจเทพธิดา รับประทานกับน้ำมันเนยหรือน้ำผึ้ง จะอายุยืน ท่องโหราศาสตร์ได้ 3 คัมภีร์ รับรองมาตุคามได้ถึง พันคน รับประทานกับนมเปรี้ยว อายุยืน ผมไม่ขาว ฟันไม่หลุด เนื้อหนังไม่ย่น รับประทานกับ ตรีผลา ( มะขามป้อม สมอไทย สมอพิเภก) จักษุที่มัวหรือมีฝ้า แลไม่เห็นก็จะเห็น แช่นมควายทาผม ผมจะงอกดี ผมขาวจะดำ ทาผมด้วยน้ำมันงา ผมจะไม่ขาว เนื้อหนังจะไม่ย่น โรคาพยาธิทุกจำพวกจะไม่มีเลย แช่น้ำนมทา คนที่เสียจักษุ โดยมีฝ้าปิด 6 เดือน จะกลับเห็นดีตามเดิม ( อ้างอิงที่ 1 )
กวาวเครือแดงกับภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย หย่อนสมรรถภาพทางเพศ เป็นคำเรียกรวม ๆ ของกลุ่มอาการที่สมรรถภาพทางเพศผิดปกติออกไปจนทำให้ตนเอง หรือคู่ครอง ไม่ได้รับความสุขในการร่วมเพศ อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย ได้แก่ การที่อวัยวะเพศไม่แข็งตัวหรือแข็งตัวไม่นานพอ การหลั่งเร็ว การไม่ถึงจุดสุดยอด และความเจ็บปวดในขณะร่วมเพศ สาเหตุโดยทั่วไปอาจเกิดจาก ภาวะที่คู่ของตนมีปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เลยพลอยทำให้ตัวเองมีปัญหาไปด้วย หรืออาจจะเกิดจากการขาดทักษะ รวมไปถึงปัญหาทางจิตใจและร่างกาย เช่น ความเครียด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ( อ้างอิงที่ 2 ) มีรายงานข่าวเกี่ยวกับภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ พบว่า ภาวะ ไม่แข็งตัว ( อีดี หรือ Erectile Dysfunction ) เป็นข้อมูลที่ถูกถามบ่อยมากที่สุด และพบว่า ปัญหาด้านสุขภาพก็เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเกิด อีดี นอกจากนี้ พฤติกรรมเสี่ยง เช่นการสูบบุหรี่ ก็มีผลกระทบได้เช่นกัน โดยมีข้อมูลในข่าวระบุว่า ชายไทยวัย 40 ปีขึ้นไปกว่า 30 % มีปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ( อ้างอิงที่ 2, 3 ) มีงานวิจัยสนับสนุนว่า กวาวเครือแดงช่วยเรื่องระบบสืบพันธ์ในหนูทดลอง โดยมีผลวิจัยว่ามีแนวโน้มทำให้จำนวน sperm มากขึ้น ( อ้างอิงที่ 4 ) และส่งเสริมการแข็งตัวของอวัยวะเพศในหนูทดลองเพศผู้ได้จริง ( อ้างอิงที่ 5 ) และมีความปลอดภัยในระยะยาวด้วย ( อ้างอิงที่ 6, 7 ) สมุนไพรกวาวเครือแดง มีงานวิจัยในคนแล้วว่ามีความปลอดภัย และช่วยสมรรถภาพทางเพศในผู้ป่วยชายไทย ที่เป็นโรค อีดี ( อ้างอิงที่ 8 ) ปัจจุบันกวาวเครือแดงชนิดที่รับประทาน ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนเป็นตำรับยาแผนโบราณ และยาแผนโบราณสามัญประจำบ้าน ถือได้ว่ามีความปลอดภัย โดยเฉพาะเมื่อได้รับอนุญาตจาก อย ให้ขึ้นทะเบียนเป็นยาสามัญประจำบ้านด้วยแล้ว เป็นการแสดงว่า เป็นยาที่สามารถรับประทานเองได้โดยไม่จำเป็นต้องมีใบสั่งจากแพทย์ และการใส่กวาวเครือแดงร่วมกับสมุนไพร เช่น ตรีผลา คือ มะขามป้อม สมอไทย สมอพิเภก ก็มีในตำรับโบราณ ทั้งนี้ ตรีผลา ก็มีความเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยปรับสมดุลของร่างกาย การทานร่วมกับกวาวเครือ จึงช่วยให้มีสมดุลที่ดี กวาวเครือแดง ไม่ควรรับประทานในผู้ป่วยโรคตับ และถ้าเป็นโรคหัวใจ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เอกสารอ้างอิง
1. หลวงอนุสารสุนทร. ตำรายาหัวกวาวเครือ. กรมการพิเศษ เชียงใหม่ โรงพิมพ์อุปะติพงศ์ พฤษภาคม 2474 2. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข http://www.dmh.go.th/1667/1667view.asp?id=3663 และ http://www.dmh.go.th/sty_libnews/news/view.asp?id=777
3. กระทรวงสาธารณสุข ชายไทยอายุหลักสี่น่าเป็นห่วง 30% หย่อนสมรรถภาพทางเพศ http://www.moph.go.th/todaynews-show.php?ContentID=14677
4. Butea superba Roxb. Enhances penile erection in rats. Tocharus C, Smitasiri Y, Jeenapongsa R. Phytother Res. 2006 Jun;20(6):484-9 5. Effect of Butea superba on reproductive systems of rats. Manosroi A, Sanphet K, Saowakon S, Aritajat S, Manosroi J. Fitoterapia 2006 Sep;77(6):435-8 6. พิษเรื้อรังของกวาวเครือแดง. ปราณี ชวลิตธำรง, ทรงพล ชีวะพัฒน์, สมเกียรติ ปัญญามัง, สดุดี รัตนจรัสโรจน์, เรวดี บุตรภรณ์. ประมวลผลงานวิจัยด้านพิษวิทยาของสถาบันวิจัยสมุนไพร เล่ม 2, กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พศ.2546;215-230 7. The toxicology of Butea superba, Roxb. Pongpanparadon A, Aritajat S, Saenphet K. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2002;33 Suppl3:155-8 8. Clinical trial of Butea superba, an alternative herbal treatment for erectile dysfunction. Cherdshewasart W, Nimsakul N. Asian J Androl. 2003 Sep;5(3):243-6.

บทความจากhttp://giffarine.thanwarat.com/th/tip/detail.php?inputGroupID=1&id=45ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น